ประวัติความเป็นมา
และยังมีทีมอาจารย์และนักศึกษาจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร และม.เกษตรศาสตร์ ที่สนใจ และ อาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จ.สงขลา เข้ามามีร่วมในการจัดทำโครงการ
วิธีการดำเนินงาน 1.ศึกษาบริบทเบื้องต้นของชุมชน 2.ศึกษาและจัดทำข้อมูลเชิงกายภาพและบริบทของชุมชนโดยละเอียด - จัดทำแผนที่กายภาพต่างๆ - แผนผังทางสัญจรและขอบเขตของบ้านในชุมชน - แผนผังลักษณะการใช้สอยพื้นที่ ความสูง และตำแหน่งพื้นที่สีเขียวของชุมชน - แผนผังแสดงศาสนา พุทธ และ อิสลาม - ขนาดความกว้างทางสัญจร ตำแหน่งไม้ยืนต้นและเสาไฟในชุมชน - ฯลฯ 3.นำเสนอแนวคิดและแนวทางต่างๆในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้คณะกรรมการชุมชน โดยการฉายสไลด์ชุมชนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชุมชนเก้าเส้ง เช่น ชุมชนในประเทศ สเปน,กรีซ,บาหลี,อินเดีย,ฯลฯ 4.แบ่งกลุ่มสีย่อย การแบ่งกลุ่มสีย่อยในแต่ละเขต จากเดิมที่มีอยู่ทั้งหมด 5 เขต เป็นกลุ่มสีทั้งหมด 33 สี แต่ละสีประกอบด้วยบ้านประมาณ 10-15 หลังคาเรือน เพื่อลดขนาดและจำนวนคน ให้สะดวกต่อการศึกษาข้อมูล ปัญหาและแนวทางการแก้ไขจากระดับรากหญ้าของชุมชน โดยมีขั้นตอนการแบ่งกลุ่มสีดังนี้ - แบ่งกลุ่มสีครั้งแรกโดยกลุ่มสถาปนิก ใช้หลักการรวมกลุ่มตามบริบทต่างๆ เช่น ทางสัญจรร่วมกัน พื้นที่ใกล้เคียงกัน ฯลฯ - แบ่งกลุ่มสีครั้งหลังโดยการลงไปยังพื้นที่จริง เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการแก้ไข ในการแบ่งกลุ่มสี รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความสนใจและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ต่อการทำงานของกลุ่มสถาปนิก
5.ประชุมกลุ่มสีย่อย - ประชุมกลุ่มสีครั้งแรก จัดในพื้นที่จริงของแต่ละสี เพื่อแนะนำกระบวนการในการทำโครงการบ้านมั่นคงให้ชาวบ้านได้รับรู้ และให้ ชาวบ้านเตรียมตัวสำหรับการนัดประชุมในการทำผังของกลุ่มสีในการประชุมครั้งต่อไป เช่น การให้ชาวบ้านหาข้อดีข้อเสียและสิ่งที่ต้องการให้มีในพื้นที่รวมไปถึงสิ่งที่ต้องการให้มีในเขตและในชุมชน ฯลฯ และเนื่องจากปัจจัยทางด้านต่างๆ ทำให้ต้องมีความรวบรัดในการทำงาน จึงได้จัดทำจดหมายข่าวย้ำ แก่ชาวบ้านทุกหลัง ให้ทราบถึงความสำคัญในการมาเข้าร่วมประชุม และผู้ที่ไม่เข้ามาร่วมประชุมจะไม่สามารถโต้แย้งข้อสรุปในที่ประชุมภายหลังได้ และ เนื่องจากการต้องการข้อมูลในระดับรากหญ้าจริง ถ้าชาวบ้านมาประชุมกันไม่ถึงกึ่งหนึ่งของกลุ่มสี หรือคนที่มาเป็นตัวแทนของบ้านในแต่ละหลังไม่สามารถตัดสินใจได้ ก็จะยกเลิกการประชุมในครั้งนั้น และจัดไปไว้ในส่วนท้ายของการประชุมภายหลัง
- ประชุมกลุ่มสีที่สอง นำเสนอแนวทางและรูปแบบในการพัฒนาชุมชน ในรูปแบบต่างๆเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของชุมชนเก้าเส้งกับชุมชนที่อื่นๆ ให้ชาวบ้านในกลุ่มสี หลังจากนั้นจึงการลงมือทำผังโดยให้ชาวบ้านเป็นผู้เขียนความต้องการลงในแผนผังที่เตรียมไว้ ร่วมกับกลุ่มสถาปนิก เมื่อเสร็จแผนผัง ได้มีการลงลายมือชื่อกำกับผังเพื่อยืนยันการทำงาน - ประชุมกลุ่มสีที่ตกค้าง เพื่อให้โอกาสกับกลุ่มสีที่ไม่พร้อมในการประชุมครั้งหลัง 6.ประชุมขอความร่วมมือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น เทศบาล, อำเภอ, กรมธนารักษ์, กระทรวงพลังงาน ฯลฯ เพื่อนำเสนอวิธีการทำงานและขอความร่วมมือในการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ ในโครงการบ้านมั่นคง 7.สรุปผังสาธารณูปโภคในแต่ละเขต โดยนัดกลุ่มสีต่างๆในเขต มาเพื่อหาข้อสรุปรูปแบบของการปรับปรุง โดยมีการทำผังรวมเขตจากแผนผังที่ได้จากการประชุมกลุ่มสี ให้ชาวบ้านในแต่ละกลุ่มสีได้แลกเปลี่ยนกับกลุ่มสีอื่นๆ และ ยืนยันข้อสรุปของการปรับปรุงในแต่ละเขต พร้อมทั้งจัดตั้งหัวหน้ากลุ่มสีเพื่อเป็นตัวแทนในการทำงานร่วมกับกลุ่มสถาปนิก กลุ่มสีละ 2-3 คน 8.ประชุมหาข้อสรุปพื้นที่ในแต่ละเขตที่เป็นปัญหา เนื่องจากการประชุมในแต่ละครั้งใช้ระยะเวลาในการตกลงนานมาก จึงยังมีพื้นที่ที่เป็นประเด็นปัญหาเหลืออยู่ จึงจัดให้มีการหาข้อสรุป ของชาวบ้านในบริเวณนั้นกับคณะกรรมการชุมชน เช่น - บริเวณริมคลองสำโรง จะจัดให้มีการทำเวิร์คชอบออกแบบร่วมกับคนในพื้นที่นั้นอีกครั้ง - บริเวณชายทะเล - บริเวณตลาดหน้าถนนเก้าแสน - ฯลฯ
10.เวิร์คชอบริมคลองสำโรง เพื่อหาข้อสรุปในการใช้พื้นที่ริมคลอง ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในบริเวณนั้น โดยนัดชาวบ้านบริเวณและในเขตรวมถึงคณะกรรมการในชุมชนมาร่วมกันทำ ผลสรุป จะใช้พื้นที่นั้นเป็นขนำและท่าน้ำสำหรับสาธารณะ และ สามารถเข้าไปทำงานและเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ได้ และได้มีการเลือกตั้งหัวหน้ากลุ่มเพื่อรับผิดชอบดูแลเฉพาะส่วนของริมคลอง เพื่อความสะดวกในการทำงาน 11.ทำผังสาธารณูปโภคและประเมินราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น รวมทั้งชุมชน รวมถึงติดต่อผสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น ไฟฟ้า ประปา เทศบาล ช่างและผู้รับเหมาในชุมชน เพื่อเสนอของบประมาณในการก่อสร้างเบื้องต้นต่อ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พ.อ.ช.) 12.ทำแผนการก่อสร้างและประเมินราคาโดยละเอียด แบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้ - ระบบสาธารณูปโภค จัดประชุมหัวหน้าฝ่ายด้านการก่อสร้างเพื่อหาแนวทางและแผนงานในการทำงาน - บ้านที่ต้องการปรับปรุงสร้างใหม่ คิดหาวิธีการออกแบบเพื่อความสะดวกและรวบรัดในกระบวนการทำงานในการออกแบบบ้านร่วมกับ หัวหน้าช่างและกรรมการฝ่ายต่างๆในชุมชน 13.เวิร์คชอบในการออกแบบบ้านที่ต้องการปรับปรุงช่อมแซมหรือสร้างใหม่ โดยจัดให้มีขั้นตอนการทำงานทั้งหมดสามครั้งต่อหนึ่งกลุ่ม ใช้สถาปนิก1คน ต่อชาวบ้าน5คน รวม15หลังต่อ1กลุ่ม แต่ละกลุ่มแบ่งตามข้อมูลทางกายภาพ เช่น ราคา ขนาดพื้นที่ ฯลฯ มีขั้นตอนการทำงานดังนี้ - เวิร์คชอบบ้านครั้งแรก นำเสนอแบบบ้านพร้อมหุ่นจำลอง2-3แบบ เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นลักษณะต่างๆในการจัดพื้นที่ใช้สอย การใช้วัสดุ การจัดสรรที่ว่าง ฯลฯ เพื่อให้ชาวบ้านเริ่มคุ้นเคยกับแบบและหุ่นจำลอง พร้อมทั้งแจกขนาดที่ดินของบ้านในแต่หลัง ในมาตราส่วน 1 นิ้ว เท่ากับ 1 เมตร (1 : 40) พร้อมทั้งนำเสนอสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันด้วยภาพถ่าย ให้ชาวบ้านลองเขียนแบบบ้านใหม่ตามความต้องการของตัวเอง พร้อมทั้งให้มีการเสนอความต้องการและข้อดีข้อเสียของบ้านหลังเดิมด้วย - เวิร์คชอบบ้านครั้งที่สอง ให้ชาวบ้านร่วมกันออกแบบผังและทำโมเดลโดยมีสถาปนิกเป็นผู้ให้คำแนะนำ ในด้านต่างๆ เพื่อหาข้อสรุปรูปแบบบ้านที่ชาวบ้านต้องการ พร้อมทั้งจัดทำการประเมินราคาก่อสร้างจากตามวัสดุที่บ้านแต่ละหลังเลือกใช้ จากนั้นก็มีการเลือกวิจารณ์ข้อดีข้อเสียของบ้านแต่ละหลังเพื่อให้ชาวบ้านกลับไปคิดแก้ไขอีกครั้ง - เวิร์คชอบบ้านครั้งสุดท้าย สรุปแบบบ้านทุกหลังในกลุ่ม โดยมี แบบแปลน หุ่นจำลอง รวมถึงตารางการใช้วัสดุการประเมินราคาโดยละเอียด 14.ควบคุมดูแลการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและปรับปรุงภูมิทัศน์ ทำ Shop Drawing ในส่วนรายละเอียดต่างๆ เช่น รอยต่อคูระบายน้ำบางจุด, ลวดลายพื้นตามบริเวณต่างๆ, สนามเด็กเล่น, แบบขยายส่วนริมคลอง, ที่ตากปลา, ที่ตากผ้า, ทับสำหรับเก็บอวน, ที่เก็บของ เป็นต้น 15.ก่อสร้างบ้านพักอาศัย 16.ประเมินผลโครงการและจัดกิจกรรม ฯลฯ เช่น การประกวดวาดรูป การเปิดงานบ้านมั่นคง ฯลฯ |